บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กระบาก
กระบาก (อังกฤษMesawa) เป็นไม้ยืนต้นสูง 5–25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทา ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่แกมรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าหรือหยักกลมๆ เรียบ โคนใบกลม มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็กๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนกลีบใกล้ปลายที่แยกออก ผลเป็นฝัก เมล็ดมีปีก ในประเทศไทยพบในป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันตกเฉียงใต้

กระบาก
กระบาก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
(unranked):Angiosperms
(unranked):Eudicots
(unranked):Rosids
อันดับ:Malvales
วงศ์:Dipterocarpaceae
สกุล:Anisoptera
สปีชีส์:A. costata
ชื่อวิทยาศาสตร์
Anisoptera costata
Korth.

ต้นไม้สัญลักษณ์

ต้นกระบากเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดโยธร

นิเวศวิทยา

ขึ้นอยู่ตามป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้นที่มีการถ่ายเทน้ำได้ดีทั่วไป ที่สูงจากยกระดับน้ำทะเล 10 - 400 เมตร มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

ลักษณะเฉพาะ

  • ใบเดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบรูป ขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลือง กว้าง 3 - 8 เซนติเมตร ยาว 6 - 16 เซนติเมตร ปลายใบทู่มนกว้างหรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบมน
  • ดอกเล็กสีขาวปนเหลืองอ่อนออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและ ปลายกิ่ง
  • ผลกลมผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีปีกยาว 2 ปีก รูปไข่กลับ และปีกสั้น 3 ปีก
  • สภาพที่เหมาะสมในการปลูก

    สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

    ชื่ออื่น

    กระบาก ตะบาก (ลำปาง), กระบากขาว (ชลบุรี, ชุมพร, ระนอง), กระบากโคก (ตรัง), กระบากช่อ กระบากด้าง กระบากดำ (ชุมพร), กระบากแดง (ชุมพร, ระนอง), ชอวาตาผ่อ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บาก (ชุมพร), ประดิก (เขมร-สุรินทร์), พนอง (จันทบุรี, ตราด), หมีดังว่า (กะเหรี่ยง-ลำปาง)

    อ้างอิง

    กระบาก 108 พรรณไม้ไทย










    ที่มา


ราชพฤกษ์ (คูน)
ดอกราชพฤกษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
ดิวิชั่น:Magnoliophyta
ชั้น:Rosopsida
อันดับ:Fabales
วงศ์:Fabaceae
วงศ์ย่อย:Caesalpinioideae
เผ่า:Cassieae
สกุล:Cassia
สปีชีส์:C. fistula
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cassia fistula
L.
ผลของต้นราชพฤกษ์
ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษCassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดียพม่า และศรีลังกา ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้

[แก้]

ลักษณะ

   ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

ลักษณะดอกของต้นราชพฤกษ์

[แก้]เกี่ยวกับชื่อ

ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะ
ลักษณะใบของต้นราชพฤกษ์

[แก้]การปลูกและการดูแลรักษา

การปลูก

ในช่วงแรกๆต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นราพฤกษ์มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ด

การดูแลรักษา


วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม้ยืนต้น
   ไม้ยืนต้น หมายถึง ลักษณะของไม้ต้นที่มีลักษณะต้นสูงใหญ่และมีรากแก้วที่ช่วยในการค้ำจุน ไม้ยืนต้นมีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป  ลักษณะของลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็งและสามารถที่แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปได้ไกลและเป็นพุ่ม

ไม้สาละลังกา



ชื่อวิทยาศาสตร์: Couroupita guianensis Aubl.
ชื่อวงศ์: Lecythidaceae
ชื่อสามัญ: Cannon-ball tree
ชื่อพื้นเมือง: ลูกปูนใหญ่
ชนิดพืช [Plant Type]:ไม้ต้น
ขนาด [Size]: สูงได้ถึง 30 เมตร
สีดอก [Flower Color]: สีชมพูอมเหลืองหรือแดง
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Tiem]: เกือบตลอดปี
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate]: ปานกลาง
ลักษณะนิสัย [Habitat]: ขึ้นได้ในดินทั่วไป
ความชื้น [Moisture]: ปานกลาง
แสง [Light]: แดดเต็มวัน
ลักษณะทั่วไป (Characteristic): ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบเรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกงเทาแตกเป็นร่องและสะเก็ด
ใบ (Foliage): ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา
ดอก (flower): สีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนานใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ปลายช่อโน้นลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบกลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปลง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากดโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบาบเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร
ผล (Fruit): ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกแข็งสีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็น มีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used): ปลูกประดับสวน ดอกสวยมีกลิ่นหอมแรง บานได้นาน   ผลกลมใหญ่สะดุดตา ปลูกในพื้นที่กว้าง เช่น สวนในวัด สวนป่า สวนสาธารณะ ปลูกริมทะเล ไม่ควรปลูกใกล้สนามเด็กเล่น
ประโยชน์ : -