บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555


Green on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง “สวนครัวบนตึก ระฟ้า”



บนดาดฟ้าของตึกจำนวนมากในสหรัฐอเมริกายามนี้ ได้กลายมาเป็น “ครัวครัว” ขนาดย่อมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภัตตาคารชื่อดังหลายแห่ง สมาคมร้านอาหาร ต่างพูดกันว่า “สวนครัว”กลายเป็นเทรน์ที่มาแรงในแวดวงร้านอาหารหลังจากบรรดาเชฟหันมาปลูกพืชผักสวนครัว ที่ใช้การทำอาหารกันเองมากขึ้นGreen on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า 17roof600.1 550x317เหตุเพราะการปลูกผักเองช่วยลดต้นทุนร้านลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังสามารถควบคุมคุณภาพได้ รวมถึงตอบสนองในการมองหาผลผลิตที่ปลูกในท้องถิ่น ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะทำสวนครัวของตัวเองกันมากขึ้น เพราะเมนูมักจะประยุกต์ ใช้กับวัตถุดิบในแต่ละฤดูกาล และหลายครั้งที่สวนครัวไม่ได้เป็นแค่อาหารปาก แต่ยังรวมถึงเป็น “อาหารใจ” ทีส่งผลให้หลายคนเลือกที่จะเป็นลูกค้าประจำของร้านนั้นๆมากขึ้น เพราะคาดว่าจะได้ลิ้มรสเมนูพืชผักสดใหม่จาการสร้างสรรค์ของพ่อครัวGreen on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า 11 550x176Green on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า Hospitality Interior Design 230 Fifth Restaurant Rooftop Outdoor Garden East Section NY 550x336ร้านอาหารส่วนใหญ่เริ่มสวนครัวขนาดเล็กๆที่ปลูกพืชทั่วไป เช่น ผักกากหอม มะเขือเทศ พริกไทย และสมุนไพรต่างๆ ซึ่งมีแค่เพียงไม่กี่ร้านที่ปลูกทุกอย่างตามที่ต้องการ เนื่องจากสภาพอากาศจำกัดการเพาะปลูก และสวนขนาดใหญ่ก็กินทั้งพื้นที่อาคารและเวลาของพนักงานGreen on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า US NY Surrey Rooftop 550x328การปลูกผักบนตึกระฟ้าที่เกาะแมนฮัตตัน นอกจากจะเป็นกลยุทธ์ที่ดึงดูดความสนใจจากทุกคน ยังช่วยลดปริมาณก๊าชเรือนกระจก เพราะไม่ต้องใช้บริการรถขนส่งผัก และข้อดีอีกประการหนึ่งของการปลูกผักไว้ใช้เองในร้านก็คือ ผักเหล่านี้ไม่ผ่านกระบวนการรักษาความสดด้วยการแช่เย็น จึงทำให้รสชาตออาหารดีขึ้น และมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้นGreen on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า 2 550x242Green on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า Rooftop Garden Design 01 500x390 448x350เนื่องจากพื้นที่ดาดฟ้าบนอาคารมีจำกัด และผักแต่ละชนิดก็ใช้เวลาในการเจริญเติบโตแตกต่างกัน จึงไม่สามารถปลูกผักได้ครบทุกชนิด หลายร้านจึงเลือกที่จะคิดเมนูให้เข้ากับผลผลิตที่มีในแต่ละช่วง ตามฤดูกาล เช่น การปลูกผักกาดหอมและต้นกุยช่ายในฤดูใบไม้ร่วง หรือปลูกมะเขือเทศและสตรอว์เบอร์รี่ในฤดูร้อน แต่อย่างไรก็ตามลูกค้าไม่สามารถสั่งอาหารที่ทำจากมันฝรั่งและข้าวโพดได้ เพราะมันเป็นพืชที่ไม่สามารถปลูกได้บนดาดฟ้าของตึกGreen on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า 6 550x175ร้านอาหารเหล่านี้มักจะพบปัญหาประเภทลูกค้าอยากจะขอขึ้นไปชมสวนครัวบนดาดฟ้า แต่ด้วยขัอจำกัดของสถานที่ซึ่งเป็นอาคารที่พักอาศัย ลูกค้าส่วนใหญ่จึงได้ชมเฉพาะช่วงเวลากลางวันของวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้น สำหรับหลายคนที่ได้มีโอกาสชมก็มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ไม่อยากลงจากดาดฟ้า” เพราะรู้สึกได้ถึงความสดชื่น และผ่อนคลาย ขอบคุณข้อมูลจาก My World MagazineGreen on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า Rooftop Garden in Skyscraper 1 e1338340682973Green on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า Timber seating frames in the rooftop garden 526x350Green on Rooftop Restaurant แนวคิดเรื่อง สวนครัวบนตึก ระฟ้า Rooftop Garden in Skyscraper 3 526x350
ที่มาhttp://www.iurban.in.th/highlight/gree-rooftop-restaurant/

การตกแต่ง “สวนครัว”



“สวนครัว” สวนที่คนสมัยใหม่ให้ความสำคัญมากขึ้น ปัจจุบันมีการวางรูปแบบที่เด่นชัดและแบ่งพื้นที่ในการปลูกไว้อย่างชัดเจน สวนครัวเป็นสวนที่จัดง่าย สามารถใช้เป็นสวนประดับและนำมากินได้ สวนครัวจึงไม่ได้อยู่แค่หลังบ้านอีกต่อไป เพียงแค่จัดสวนให้สะอาดก็สามารถนำออกมาโชว์หน้าบ้านได้


การตกแต่ง “สวนครัว” - ไอเดีย - สวนสวย - สวนครัว


-จัดสวนครัวเป็นสวนแขวน
เมื่อจัดสวนครัว พรรณไม้หลักนั้นต้องเป็นพืชผัก แต่การเลือกต้องคำนึงถึงความสูงและลักษณะของพืชที่จะเอามาแขวน โดยอาจจะนำโซ่เหล็กธรรมดามาตกแต่งเพื่อสร้างความเท่ห์ให้กับสวน หรืออาจจะเลือกใช้เชือกป่านมาร้อยแทนคู่กับกระถางดินเผาก็เก๋ไก๋ไปอีกแบบ


การตกแต่ง “สวนครัว” - ไอเดีย - สวนสวย - สวนครัว

จากพื้นที่ข้างอาคาร ซึ่งมีลักษณะเป็นแปลงยาวและแคบรูปสี่เหลี่ยมคางหมู เราสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน
- ส่วนแรก แปลงขนาด 1.5 x 3 เมตร เน้นการปลูกผักให้เป็นพุ่มโค้งรับไปตามขอบของพื้นที่ มีการเว้นที่บางส่วนไว้ปูอิฐมอญเป็นพื้นแข็ง สำหรับให้เข้าไปดูแลรักษาสวนครัว แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ฝังอ่างสำหรับปลูกผักที่เป็นพรรณไม้น้ำ โดยพันธุ์ผักที่เลือกใช้ในบริเวณนี้คือ ปูเล่ สะระแหน่ มะเขือ กะหล่ำประดับ ชะพลู ตะไคร้ ยี่หร่า กะเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง พริกขี้หนู เตยหอม แว่นแก้ว และบัวบก

- ส่วนที่สอง ขนาด 1 x 1.5 เมตร เน้นการจัดวางไม้กระถางและการปลูกผักเป็นแปลง ส่วนพันธุ์ผักที่เลือกใช้คือ บวบเหลี่ยม กะหล่ำประดับ ผักชีฝรั่ง กะเพรา พริกขี้หนู ส้มจี๊ด สะระแหน่ และขึ้นฉ่าย
จากนั้นเลือกใช้องค์ประกอบสวนเป็นตัวเชื่อมโยงสวนเข้าด้วยกันคือ วางซุ้มไม้เลื้อยระหว่างพื้นที่ทั้งสอง ใช้รั้วไม้ไผ่กั้นเป็นตัวหยุดสายตา และเลือกใช้วัสดุปูพื้นประเภทเดียวกัน คือ อิฐมอญ
หลังจากเลือกพื้นที่สำหรับจัดสวนครัวแล้ว จึงกำหนดขนาดให้เหมาะสมกับความต้องการ โดยขั้นตอนสำคัญของการจัดสวนคือ การเตรียมดินและลงปลูก เพราะหากทำได้ไม่ดีจะทำให้สวนครัวไม่เจริญงอกงาม
-เลือกพืชสรรพันธุ์ไม้
วิธีการเลือกพืชสวนครัวก็เหมือนกับการ เลือกใช้ไม้ประดับทั่วๆไป โดยให้ดูที่ผิวสัมผัสของใบ ขนาดทรงพุ่ม และลักษณะนิสัย แต่การจัดสวนครัวในรูปแบบสวนประดับนั้นไม่เหมือนกับการปลูกผักทั่วๆไปที่ ปลูกเป็นแถวหรือเป็นแนวยาวตามขนาดของแปลง แต่จะต้องจัดวางหรือปลูกต้นไม้แบบผสมผสานกัน โดยปลูกสลับกลุ่มสลับแปลง ซึ่งข้อดีของการปลูกแบบนี้นอกจะสร้างความสวยงามแล้ว ยังช่วยลดการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้


ดอกไม้ไทยที่กินได้
ลองหันมาสนใจดอกไม้ไทยๆที่กินได้ดูบ้าง

นายสง่า ดามาพงศ์ ผู้จัดการสำนักบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า
 ดอกไม้มีความแตกต่างจากผักหรือใบไม้คือ
มีสีที่หลากหลายทั้งม่วง ส้ม แดง เหลือง ขาว เป็นการเพิ่มสารในกลุ่มไฟโตเคมีคอล
เช่น สารเบต้าแคโรทีน ซึ่งดอกไม้ที่รับประทานกันอยู่แล้ว เช่น ดอกแคแกงส้ม
ดอกขจร ใช้ใส่ในไข่เจียว ดอกโสนผัดไข่
แต่โครงการดอกไม้กินได้ นำดอกไม้หลากหลายชนิดมารับประทาน เช่น ดอกซ่อนกลิ่น
ดอกกุหลาบ ชบา ดาวเรือง เข็ม กล้วยไม้ ทำได้หลากหลายเมนูตั้งแต่กล้วยไม้ทอดกรอบ
ต้มจืด ยำ แต่อย่านำกุหลาบ กล้วยไม้ ที่ปากคลองตลาดมาปรุงอาหาร
เพราะยังไม่มั่นใจเรื่องการใช้สารกำจัดแมลง 


ดอกไม้บางชนิดสามารถนำมาดัดแปลงทำเป็นอาหารได้ทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน 
แถมดอกไม้บางชนิดยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย 
รับประทานแทนผักจิ้มกับน้ำพริกต่างๆ
ตัวอย่างรายการอาหารจากดอกไม้
ป้าเสลาจะทะยอยนำมาเสนอ




ดอกขจร           

ยำดอกขจร ได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้แล้ว

แกงส้มดอกขจร

เครื่องปรุง

ดอกขจร 2 ถ้วยตวง
ปลาช่อน (ขนาด ½ ก.ก.) 1 ตัว
น้ำส้มมะขามเปียก ½ ถ้วยตวง
น้ำตาลมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
เครื่องน้ำพริกแกงส้ม
พริกแห้ง 5 เม็ด กะปิ 1 ช้อนชา
หอมแดงหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
นำเครื่องแกงโขลกให้ละเอียด

วิธีทำ  
ปลาช่อนส่วนหางต้มสุกตักขึ้นและเอาแต่เนื้อ
นำเนื้อปลามาโขลกรวมกับน้ำพริกแกงส้มให้ละเอียด
นำมาละลายกับน้ำต้มปลา ใช้เป็นน้ำแกง
ตั้งไฟให้เดือด ใส่ปลา ใส่น้ำปลา น้ำตาล พอเดือดใส่ดอกขจร
เด็ดเป็นดอกๆ พอเดือดยกลงรับประทานได้

...
.....แกงจืดดอกขจร

เครื่องปรุง 
หมูเนื้อแดงสับละเอียด 1 ถ้วยตวง
กุ้งชีแฮปอกเปลือกผ่าหลัง 10 ตัว
ดอกขจร 2 ถ้วยตวง
รากผักชี 1 ราก
กระเทียบสับ 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่น ½ ช้อนชา
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุป 2 ถ้วยตวง
น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
ตั้งน้ำซุปให้เดือด ใส่หมูสับคนให้กระจายใส่น้ำปลา ใส่กุ้ง
พอน้ำซุปเดือด ใส่ดอกขจร ปิดฝา ยกลง
เจียวกระเทียมให้เหลือง โรยหน้า โรยพริกไทย

...
.....ไข่ตุ๋นดอกขจร

เครื่องปรุง 
ไข่ไก่ 3 ฟอง
ดอกขจร 50 กรัม
น้ำซุป 1 ถ้วยตวง
เนื้อปูนึ่งสุก 100 กรัม
เนื้อหมูสับ 100 กรัม
ซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
ผงปรุงรสไก่ 1 ช้อนชา
กระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
พริกชี้ฟ้าหันเป็นเส้น สำหรับโรยหน้า

วิธีทำ
ผสมไข่ไก่ เนื้อปู เนื้อหมู ดอกขจร เครื่องปรุงรสทั้งหมด และน้ำซุป เข้าด้วยกัน
ใส่ภาชนะทนร้อน นำไปนึ่งในรังถึง เมื่อสุกแล้วยกลงโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว
และพริกชี้ฟ้า จัดเสิร์ฟขณะร้อนๆ


...
 .....ข้าวต้มดอกขจร  

เครื่องปรุง
ข้าวสวยกล้องหอมมะลิ ½ ถ้วย
ดอกขจร ½ ถ้วย
กระดูกสันหลังหมูติดเนื้อ 200 กรัม

วิธีทำ 
ต้มกระดูกสันหลังในน้ำจนเปื่อย แกะเนื้อออกไว้ต่างหาก
เอาน้ำต้มกระดูกหมูต้มให้เดือด ใส่ข้าวต้มจนข้าวสุก แล้วใส่ดอกขจร
ต้มจนดอกขจรเปื่อย ใส่เนื้อหมู ปรุงรสด้วยเกลือจะดีกว่าใช้น้ำปลาเพราะจะทำให้คาว
ดอกไม้กินได้ของไทย    
แบ่งออกเป็น
 

 
ดอกของพืชผัก : เช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำดอกอิตาเลี่ยน (บร๊อคโคลี่) ดอกแคบ้าน
                     ดอกกุยช่าย ดอกเก๊กฮวย ดอกผักกวางตุ้ง ดอกฟักทอง ดอกบวบหอม
                     ดอกกระถิน ดอกหอม ดอกข่า ฯลฯ   
       
 ...
เฟื่องฟ้า

พวงชมพู
ดอกของไม้ประดับ : เช่น ดอกเข็ม ดอกพวงชมพู ดอกเล็บมือนาง ดอกลั่นทม
                     ดอกดาวเรือง ดอกดาวกระจาย ดอกกุหลาบ ดอกแคฝรั่ง
                     ดอกชบา ดอกซ่อนกลิ่น ดอกเฟื่องฟ้า ฯลฯ  
  
          

 ...
ดอกมะขาม
...
ช่อมะม่วง
...
ดอกชมพู่สาแหรก
ดอกของไม้ผล : เช่น ดอกทุเรียน ดอกชมพู่สาแหรก ดอกมะขาม
                     ดอกกล้วย (หัวปลี) ช่อมะม่วง ดอกมะละกอ ฯลฯ    

             

 ...
ดอกงิ้ว

ดอกขี้เหล็ก
ดอกของต้นไม้ป่าบางชนิด : เช่น ดอกพะยอม ดอกงิ้ว ดอกแคป่า
                     ดอกแคขน ช่อสะเดา ช่อมะกอก ดอกขี้เหล็ก
                     ดอกกระโดน ดอกลำพู ดอกกุ่มน้ำ ดอกแต้ว ฯลฯ    

             
 ...
ดอกผักปลัง
 ...
ดอกชุมเห็ดเทศ]
ดอกของวัชพืชบางชนิด : เช่น ดอกกะลาหรือดอกดาหลา ดอกบัวสาย
                     ดอกสลิดหรือดอกขจร ดอกข้าวสาร ดอกผักปลัง
                     ดอกผักตบไทย ดอกผักตบชวา ดอกกะแท่ง ดอกบุก
                     ดอกชุมเห็ดเทศ ดอกกระพังโหม ดอกกระทือ ดอกครั่ง
                     ดอกกระเจียว ดอกโสน ดอกบอน ฯลฯ 
           

 ...
ปลีตาล
 ...
ดอกมะรุม
ดอกของต้นไม้อื่นๆ : เช่น ดอกนุ่น ปลีตาล จั่นจาก(ดอกจาก) ดอกมะรุม ดอกโศก เป็นต้น

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ หรือ สสส.
ขณะนี้ รับหน้าที่เป็นผู้ประสานงานโครงการอาหารโภชนาการ
สนับสนุนให้มีการปลูกผักปลอดสารพิษทั้งพืชผักและไม้ดอก
และได้เริ่มดำเนินการนำร่องโครงการปลูกดอกไม้กินได้ขึ้น
ที่ดอยแม่วาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ 

และใช้จุดนี้เป็นแปลงทดลอง ติดตามผล ใช้ระยะเวลารวม 1 ปี
ก่อนที่จะสรุปผลและขยายพื้นที่ปลูกไปยังจุดอื่น ๆ ทั่วประเทศในระยะยาวต่อไป


ดอยแม่วาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ 

ดอกไม้ที่มาปลูกในพื้นที่แปลงทดลองที่ดอยแม่วางครั้งนี้
มีทั้งดอกกุหลาบ ดาวเรือง ซ่อนกลิ่น
ดอกที่มีสรรพคุณทางยาและดอกที่มนุษย์สามารถบริโภค
หรือนำมาแปรรูปเป็นอาหารชนิดอื่นได้
เพราะที่ผ่านมาคนไทยเองก็นำดอกจากพืชหลายชนิดมาปรุงเป็นอาหารกันบ้างแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นดอกขจรที่ใช้ใส่ใขเจียว
ดอกโสน นำมาผัดไส่ไข่
ดอกแคใช้แกงส้ม ฯ

แต่ยังไม่ทราบว่าในแท้ที่จริงแล้วมีอีกหลายชนิด
ที่สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนูเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็น การยำ ต้มจืด หรือการทอดกรอบ

ส่วนสรรพคุณเบื้องต้นยกตัวอย่างเช่น 

ดอกที่ให้สีม่วงแดง มีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็ง
เส้นใยช่วยในการขับถ่ายไม่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

ดอกลีลาวดีหรือดอกจำปาลาว นำมาชุบแป้งทอดสรรพคุณช่วยขับลม
ขับปัสสาวะ แก้อาการอ่อนเพลีย

ดอกดาวเรืองช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาเจ็บ ไอ คางทูม
ทาแผล แก้อาการหลอดลมอักเสบ
ยังสามารถนำสกัดเป็นนำมันหอมระเหยเพื่อช่วยในการบำรุงหัวใจ
แก้อาการวิงเวียน

ในขณะที่ชบา ดาหลา สรรพคุณแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

กุหลาบและดอกบัว มีน้ำมันหอมระเหยช่วยในการบำรุงหัวใจเช่นกัน
ช่วยเจริญอาหาร

ดอกลิลลี่ช่วยคลายเครียด ฯ
 ...กุหลาบมอญ
ดอกไม้กินได้ มีสรรพคุณเป็นยาขนานเอกกลีบดอกช่วยบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย และช่วยระบาย

สิ่งที่ควรระวัง คือ หลีกเลี่ยงกุหลาบที่ไม่ได้ปลูกเอง
เพราะอาจมีสารเคมีที่เป็นอันตราย ตกค้างอยู่

ดอกกุหลาบ ตามธรรมชาติแล้วจะมีรสฝาด
เมื่อนำมาประกอบอาหารควรกลบรสฝาด
ด้วยมะนาวหรือเกลือ เพื่อให้หายเฝื่อน

...
...


เบญจมาศ
ดอกไม้กินได้ แก้สารพัดโรค
ทั้งแก้โรคตับ ไขข้ออักเสบ
ปวดหัว ป้องกันโรคผมหงอก



การใช้ดอกไม้ปรุงอาหารจะช่วยสร้างความแปลกใหม่ในมนูอาหาร
ช่วยส่งเสริมให้คนหันมาทานผักกันมากขึ้น
อาหารน่าทานจากสีสันของดอกไม้และยังช่วยให้ เกษตรกรมีรายได้
จากการปลูกไม้ดอกจำหน่าย นอกจากจะสร้างความสวยงามให้กับพื้นที่
ที่สำคัญดอกไม้เหล่านี้มีสรรพคุณทางยา มีคุณค่าทางโภชนาการ รักษาสิ่งแวดล้อม

 ...

ดอกซ่อนกลิ่น
ซึ่งน้ำมันหอมระเหยมีลักษณะกลิ่นหอมหวาน
ช่วยเพิ่มพลัง กระปรี้กระเปร่า และทำให้จิตใจสงบ
ในแต่ละปีผลิตได้จำนวนน้อยมาก
เป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีราคาสูง
นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำหอม

ดอกของมันยังรับประทานมีประโยชน์
ให้สารต้านมะเร็งสูง มีกลิ่นหอม บำรุงหัวใจ 

ดร.ธนชัย พันธุ์เกษมสุข หัวหน้าโครงการเกษตรปลอดสารพิษดอยแม่วางกล่าวว่า
หากประชาชนกลัวการนำดอกไม้มาปรุงเป็นอาหารเพราะไม่คุ้นเคยมาก่อน
จุดหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่นใจก็คือเลือกดอกไม้ที่สัตว์กินได้ ก็จะปลอดภัย
และหากว่าเลือกดอกไม้ที่ปลอดสารพิษก็จะยิ่งช่วยสร้างความมั่นใจได้เพิ่มมากขึ้น

โครงการนี้ได้เริ่มนำร่องที่ดอยแม่วาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
และยังใช้เป็นแปลงศึกษาดูงานของเกษตรกรและผู้ที่สนใจ
ในอนาคตยังตั้งเป้าที่จะให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์
ผู้ที่มาพักนอกจากจะได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้าน ชมความสวยงามของไม้ดอกไม้ประดับแล้ว
ยังจะได้ลิ้มลองเมนูที่ปรุงมาจากดอกไม้ด้วย

ดอกโสน

ขนมนี้รูปร่างหน้าตาก็คล้ายๆ ขนมกล้วย ใช้ดอกโสนหอมๆ สีเหลืองเหมือนทอง แทนกล้วย
ดอกโสน ทางยาไทยบอกว่า มีรสจืดเย็น สรรพคุณแก้พิษร้อน ถอนพิษไข้
เมื่อแยกธาตุพบว่า ดอกโสน 100 กรัม ให้แคลเซียม 51 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัสบำรุงกระดูกบำรุงสมอง 56 มิลลิกรัม
มีแร่เหล็กบำรุงเลือดฝาด 8.2 มิลลิกรัม แถมยังให้วิตามินเอไว้ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บอีก 3338 IU.
แล้วยังมีวิตามินบีหนึ่ง บีสอง ไนอะซิน และวิตามินซี อีกพอสมควร
นับว่าเป็นดอกไม้พืชพื้นบ้านที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายอย่างมาก 



ขนมดอกโสน

ส่วนผสม
ดอกโสน 1 1/2 ถ้วย แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย
แป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปีบ 3/4 ถ้วย
หัวกะทิ 3/4 ถ้วย น้ำ 1/2 ถ้วย
มะพร้าวทึนทึกขูด 3/4 ถ้วย ใบตองสำหรับห่อขนม
ซึ้ง นึ่ง อาหาร
ไม้กลัด และใบมะพร้าวหรือทางมะพร้าวไว้ทำเตี่ยวขนม
หรือจะทำใส่ถาดแล้วตัดแบ่งให้เป็นรูปร่างต่างๆ ก็ได้



วิธีทำ
1. เก็บดอกโสน แล้วนำมารูดออกจากกัน แล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วทิ้งให้สะเด็ดน้ำ
2. นำข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำตาลปีบ ผสมกัน แล้วค่อยๆ ใส่หัวกะทินวดทีละน้อย จนน้ำตาลละลาย
    จากนั้นจึงใส่กะทิที่เหลือและน้ำ ใส่ดอกโสนเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่ใบตองที่เตรียมไว้ห่อละ 2 ช้อนโต๊ะ
3. นำดอกโสนที่คลุกเคล้าเสร็จแล้วใส่ลงในซึ้ง แล้วนำไปตั้งบนเตาไฟ ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที
4. ระหว่างที่รอดอกโสนสุก ให้ขูดมะพร้าวเป็นเส้นๆ ใส่ไว้ในถาด
5. เมื่อดอกโสนสุกแล้วก็ยกลงจากเตา แล้วตักดอกโสนใส่จาน พร้อมกับโรยหน้าด้วยมะพร้าว
    และน้ำตาลทราย ตามใจชอบ ก็เป็นอันว่าเสร็จสมบูรณ์




ขนมดอกโสน คลุกแป้งข้าวเจ้าขณะใส่ซึ้ง เพื่อนึ่งให้สุก



ขนมดอกโสนที่นึ่งสุก โรยมะพร้าวคลุกน้ำตาลทราย 

เจอภาพและวิธีทำ ดอกแคผัดหมูกรอบ
ในนิตยสาร กูรเมท์ แอนด์ ควีซีน
จึงแอบหยิบมาฝากเพื่อนๆชาวอรุณสวัสดิ์


 ...
(ภาพจาก internet)
ดอกแคเป็นดอกไม้ที่กินแล้วสบายใจ
เพราะปลูกง่าย พบเห็นใกล้บ้านทั่วไป
จึงมั่นใจได้ว่าไม่ผ่านการฉีดยาฆ่าแมลง
มีรสขมนิดๆ เข้าตำรา "หวานเป็นลม ขมเป็นยา"


ดอกแค 100 กรัม หรือ 1 ขีด
ให้พลังงานต่อร่างกาย 10 กิโลแคลอรี
มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส
เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ
วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง และวิตามินซี
การรับประทานดอกแคจะทำให้ร่างกายได้เส้นใยอาหาร
สรรพคุณทางยาของแคคือช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้

ฤดูหนาวนี้เราเป็นหวัดเป็นไข้กันง่าย
ดอกแคจึงน่าสนใจที่นำมาเป็นเมนูในบ้าน






ดอกแคผัดหมูกรอบ

ส่วนผสม (สำหรับ 2 ที่)

- ดอกแค ประมาณ 4 ถ้วย ใช้มีดกรีดสันดอก เปิดเป็นช่องเพื่อเด็ดเกสรทิ้ง
- พริกขี้หนูแดงบุบพอแตก 5-6 เม็ด
- หมูกรอบหั่นเป็นชิ้น 1/2 ถ้วย
- น้ำมันหอย 1 ช้อนชา
- ซีอิ๊วจีน 1/2 ช้อนชา
- น้ำปลา 1 ช้อนชา
- กระเทียมสับ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 1/2 ช้อนชา
- น้ำสะอาด 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมันพืช 1/4 ถ้วย


วิธีทำ

ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันพืช เปิดไฟแรงๆ
รอจนน้ำมันร้อนจัดแล้วใส่หมูกรอบและกระเทียมลงไปผัดพร้อมๆกัน
เมื่อกระเทียมส่งกลิ่นหอมก็ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงไป (ยกเว้นน้ำ)

ผัดพอมีกลิ่นหอม เติมน้ำ ผัดให้เข้ากันดี
ตักใส่จาน กินกับข้าวร้อนๆ หรือกินเล่น ก็อร่อยดี

ผัดแบบนี้ต้องใช้ไฟแรงและผัดเร็วๆ จึงจะอร่อย
คำว่าผัดเร็วๆ นี้ หมายถึงใช้เวลาไม่นาน
แต่อย่าใช้ตะหลิวคนเสียจนผักช้ำ
ทิ้งจังหวะให้ผักได้รับความร้อน จึงค่อยกลับด้าน

วิธีนี้จะทำให้ผักสุกเสมอกันอย่างรวดเร็ว

ที่มาhttp://www.arunsawat.com/board/index.php?topic=6748.0

ที่มาhttp://www.youtube.com/watch?v=UD75YrhYHMo
ความหมายของไม้ดอกไม้ประดับ และการจำแนกประเภท โดย ศาตราจารย์สมเพียร เกษมทรัพย์ 
          ไม้ดอกไม้ประดับ หมายถึง ไม้ดอกที่นำมาใช้ในการประดับตกแต่งสวน  หรือสถานที่ต่างๆ โดยไม้ดอก (Flowering  plant)  หมายถึง  พรรณไม้ที่ออกดอกมีสีสันสวยงาม  หรือมีกลิ่นหอม  อาจจำแนกไม้ดอกออกได้เป็น ๒ วิธี  คือ วิธีแรกเป็นการจำแนกตามลักษณะของพรรณไม้  และวิธีที่ ๒ เป็นการจำแนกตามประโยชน์ใช้สอย

หัวข้อ
การจำแนกตามลักษณะของพรรณไม้ 

          แบ่งออกเป็น ไม้ดอกที่เป็นไม้ล้มลุก ไม้ดอกที่เป็นไม้พุ่ม ไม้ดอกที่เป็นไม้เถาหรือไม้เลื้อย ไม้ดอกที่เป็นไม้ต้นหรือไม้ใหญ่ยืนต้น  

          ๑) ไม้ดอกที่เป็นไม้ล้มลุก (Flowering  herb)
           หมายถึง ไม้ดอกประเภทที่มีวงจรชีวิตสั้น ส่วนใหญ่เมื่อเกิดมาแล้วจะเจริญเติบโตให้ดอกจนครบวงจรชีวิต แล้วตายภายในฤดูเดียวหรือปีเดียว จัดเป็นไม้ดอกฤดูเดียว เป็นไม้ดอกที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับมากที่สุด เพราะปลูกและตกแต่งได้ง่าย มีการเจริญเติบโตเร็ว นอกจากไม้ดอกล้มลุกที่มีอายุปีเดียวแล้ว มีไม้ดอกล้มลุกบางชนิดที่มีอายุมากกว่า  ๑  ปี ซึ่งจัดเป็นไม้ดอกล้มลุกสองฤดู หรือไม้ดอกล้มลุกหลายฤดู 

          ไม้ดอกล้มลุกที่เป็นไม้ดอกฤดูเดียวจะมีอายุสั้นมาก นับจากวันที่เริ่มเพาะเมล็ด จนถึงออกดอกใช้เวลาเพียง  ๖๐ - ๑๒๐  วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ดอก จากนั้นจะออกดอกสวยงามอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง คือประมาณ ๓๐ - ๖๐ วัน แล้วก็เริ่มเหี่ยวร่วงโรยไป โดยมีเมล็ดเกิดขึ้นภายในดอกซึ่งเมื่อเมล็ดแก่จัด ก็สามารถนำไปปลูกให้เป็นไม้ดอกรุ่นใหม่ได้

          ส่วนไม้ดอกที่มีอายุอยู่ได้นานหลายปี เช่น เวอร์บีนา แพรเซี่ยงไฮ้ ผกากรอง สร้อยทอง พยับหมอก บานเช้า บานบุรี     กระดุมทอง แพงพวย ไม่จำเป็นต้องปลูกต้นใหม่ทดแทน เพียงแต่ตัดแต่งกิ่งที่แห้งเหี่ยว กิ่งแก่ และกิ่งที่เป็นโรคออก พร้อมทั้งตัดแต่งต้นให้สั้นลง ตลอดจนปรับปรุงดินใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม เพื่อให้ต้นเก่าแตกกิ่งก้าน และออกดอกชุดใหม่ที่สวยงามต่อไป การตัดแต่งกิ่งแต่งต้นนี้จะกระทำต่อเนื่องไปจนกว่าต้นจะทรุดโทรม และแก่ตายไปในที่สุด
 
          ๒) ไม้ดอกที่เป็นไม้พุ่ม  (Flowering shrub) 
           หมายถึง ไม้ดอกที่มีเนื้อไม้แข็ง ลำต้นตั้งตรงเป็นอิสระได้โดยไม่ต้องอาศัยต้นไม้หรือวัสดุอื่นยึดเหนี่ยวพาดพิง มีอายุอยู่ได้นานหลายปี  มีความสูงไม่มากนัก และมีการแตกกิ่งก้านไม่สูงจากพื้นดิน เช่น เข็ม พุดลำโพง คริสต์มาส ชบา ชวนชม ดอนญ่า พยับหมอก ราชาวดี และยี่เข่ง

          ๓) ไม้ดอกที่เป็นไม้เถา หรือไม้เลื้อย (Flowering  climber) 
           หมายถึง ไม้ดอกที่ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องอาศัยยึดเหนี่ยวพาดพิงต้นไม้หรือวัสดุอื่นในการทรงตัว หากไม่มีสิ่งใดให้พาดพิง ก็จะเลื้อยไปตามพื้นดิน เช่น เล็บมือนาง กระเทียมเถา ชำมะนาด อัญชัน กุมาริกา ถ้ามีอายุอยู่ได้หลายปี เราเรียกไม้ดอกดังกล่าวนี้ว่า ไม้เถายืนต้น แต่ถ้าเป็นไม้เถาที่มีอายุสั้น มีลักษณะล้มลุก เช่น รกฟ้า ผักบุ้งฝรั่ง เรียกว่า  ไม้เถาล้มลุก

          ๔) ไม้ดอกที่เป็นไม้ต้นหรือไม้ใหญ่ยืนต้น  (Flowering  tree) 
           หมายถึง ไม้ดอกที่มีเนื้อไม้แข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นใหญ่กว่าไม้พุ่มและมีความสูงเกิน ๖ เมตร สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตนเอง มีอายุอยู่ได้นานปี เช่น เสลา ตะแบก อินทนิล นนทรี  พิกุล ฝ้ายคำ  ทองกวาว จามจุรี  ประดู่ ประดู่แดง ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ แคแสด รัตมา แคฝรั่ง โสกอินเดีย ปีบ เหลืองอินเดีย และหางนกยูงฝรั่ง


การจำแนกตามประโยชน์ใช้สอย 
           เนื่องจากไม้ดอกมีอยู่มากมายหลายพันชนิด แต่ละชนิดมีประโยชน์ใช้สอยต่างกัน เพื่อความสะดวก และความคุ้มค่าในการนำไปตกแต่ง จึงมีการจำแนกประเภทไม้ดอกตามประโยชน์ใช้สอยดังนี้

          ๑)  ไม้ตัดดอก  (Cut  flower  plant)
           หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูก ณ สถานที่ที่มีภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม เช่น สายลม  แสงแดด  อุณหภูมิ  ดิน น้ำ  ความชื้นสัมพัทธ์  การคมนาคม  และระยะทางที่เหมาะสม เพื่อตัดเฉพาะส่วนดอกหรือช่อดอกไปใช้ประโยชน์ หรือจำหน่าย  เช่น  แกลดิโอลัส เบญจมาศ เยอร์บีรา หน้าวัว กุหลาบ ดาวเรือง คาร์เนชัน และบัวหลวง ไม้ดอกดังกล่าวนี้ จะถูกตัดออกจากต้นไปใช้ประโยชน์พร้อมทั้งก้านดอกด้วย ทั้งนี้เพราะก้านดอกเป็นแหล่งสะสมอาหาร เมื่อดอกถูกตัดจากต้นเพื่อนำไปปักแจกัน  หรือจัดกระเช้า อาหารที่เก็บสะสมไว้ที่ก้านดอกจะถูกนำมาใช้ ช่วยให้ดอกไม้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ดังนั้นคุณลักษณะสำคัญของไม้ตัดดอก นอกจากดอกจะต้องสวยสดแล้ว ก้านดอกก็ต้องใหญ่ ยาว และแข็งแรง แต่ไม่เกะกะเก้งก้าง บรรจุหีบห่อได้ง่าย ขนส่งสะดวก มีน้ำหนักไม่มากนัก และเก็บรักษาได้นาน

          ยังมีไม้ดอกอีกหลายชนิดที่มีก้านดอกสั้น ก้านดอกกลวงและเปราะหักง่าย แต่ดอกสวย หรือมีกลิ่นหอม อายุการใช้งานทนนาน สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีในวิถีชีวิตของคนไทย โดยการนำเฉพาะส่วนดอกไปร้อยมาลัย  ทำอุบะ  จัดพานพุ่ม  หรือนำไปจัดแจกัน  โดยใช้ก้านเทียมแทน เช่น รัก มะลิ พุด จำปี จำปา แวนดาโจคิม บานไม่รู้โรย

          ๒) ไม้ดอกกระถาง  (Flowering  pot  plant)
          หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูกเลี้ยงในกระถางตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดหรือย้ายต้นกล้า โดยการเปลี่ยนกระถางให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ให้เหมาะสมกับความสูงและการเจริญเติบโตของต้น  เมื่อออกดอกจะนำไปใช้ประโยชน์ในการประดับทั้งต้นทั้งดอก  พร้อมทั้งกระถาง ทำให้อายุการใช้งานทนนานกว่าไม้ตัดดอก เช่น  บีโกเนีย แพนซี  แอฟริกันไวโอเลต กล็อกซิเนีย อิมเพเชียน  พิทูเนีย
          ไม้ดอกที่นำมาปลูกเป็นไม้กระถางจึงต้องมีทรงพุ่มต้นกะทัดรัด  ไม่เกะกะเก้งก้าง หรือมีต้นสูงใหญ่เกินกว่าที่จะนำมาปลูกเลี้ยงได้ในกระถางขนาดเล็กพอประมาณ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการขนย้าย  ที่สำคัญคือ ควรจะออกดอกบานพร้อมเพรียงกันเกือบทั้งต้น เพื่อความสวยงามในการใช้ประดับ ปัจจุบันวิทยาการเจริญก้าวหน้าอย่างมาก มนุษย์สามารถปลูกเลี้ยงไม้ดอกหลายๆ ชนิดแม้จะมีขนาดต้นสูงใหญ่ในกระถางขนาดเล็ก โดยการใช้สารเคมีที่เรียกว่า สารชะลอการเจริญเติบโต ราดหรือพ่น  เพื่อทำให้ไม้ดอกเหล่านั้นมีขนาดต้นเตี้ยลงตามความต้องการ ตลอดจนใช้เทคนิคบางประการในระหว่างการปลูกเลี้ยง เพื่อบังคับให้ไม้ดอกออกดอกพร้อมเพรียงกันทั้งต้นได้  โดยคงจำนวน ขนาด และสี  ตลอดจนความสวยงามของดอกให้ใกล้เคียงกับของเดิมทุกประการ
          ๓) ไม้ดอกประดับแปลง (Bedding plant)           หมายถึง  ไม้ดอกที่ปลูกลงแปลง  ณ  บริเวณที่ต้องการปลูกตกแต่ง  เพื่อประดับบ้านเรือน อาคารสถานที่  ตลอดจนสวนสาธารณะ โดยไม่ตัดดอกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้ประโยชน์ แต่ปล่อยให้ออกดอกบานสะพรั่งสวยงามติดอยู่กับต้นภายในแปลงปลูก เพื่อประโยชน์ในการประดับ จนกว่าจะร่วงโรยไป
ที่มาhttp://guru.sanook.com/encyclopedia/ความหมายของไม้ดอกไม้ประดับ__และการจำแนกประเภท/

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555


ปลูกพืชกลับหัว สวยงาม ประหยัดน้ำ ลดโลกร้อน

เป็นไอเดียที่เก๋และเริ่ดมมั่กๆ เลยค่ะ  สำหรับการปลูกพืชแบบกลับหัว ซึ่งนอกจากจะให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ลดปัญหาเรื่องวัชพืช โรค แมลงรบกวน ประยัดน้ำ แล้วยังนำมาตกแต่งสวนในบ้าน หรือตามที่ต่างๆ ได้สวยงามอีกต่างหาก งั้นเรามาดูกันว่าจะมีวิธีปลูกกันดีกว่า อ่านแล้ว ใครจะเอาไปทำที่บ้านบ้าง เราก็ไม่ห้ามนะคะ :)

 วิธีการปลูกพืชกลับหัว

เริ่มจากการนำวัสดุปลูก เช่น ขุยมะพร้าวหรือดิน(หากต้องการปลูกพืชที่มีขนาดใหญ่เช่น มะเขือเทศควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีน้ำหนักเบา เช่น ขุยมะพร้าว) ใส่ลงในกระถางให้เต็ม แล้วนำแผ่นกระเบื้องสี่เหลี่ยมมาปิดด้านบนของกระถาง ใช้นิ้วหนีบกระเบื้องไว้กับกระถางเพื่อป้องกันวัสดุปลูกร่วงหล่นแล้วคว่ำกระถางเพื่อให้ก้นกระถางหันขึ้นด้านบน นำต้นกล้าพืชลงปลูกในรูก้นกระถาง รดน้ำให้ปุ๋ยตามปกติ(ในกรณีที่ปลูกในขุยมะพร้าวควรรดด้วยสารละลายปุ๋ย) รอจนต้นโตสูงอย่างน้อย 1 ฟุตแล้วจึงพลิกกระถางเพื่อให้ต้นพืชกลับหัว เจารูที่ขอบกระถางสำหรับร้อยลวดแล้วจึงนำไปแขวน นอกจากนี้ด้านบนของกระถางยังสามารถปลูกผักขนาดเล็กชนิดอื่น เช่น สลัดได้อีกด้วย

การปลูกผักกลับหัว

1. การเจริญเติบโตของพืช ตามปกติแล้วส่วนยอดของต้นพืชทุกชนิดจะเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วง ในขณะที่ส่วนรากจะชอนไชลงดินตามแรงโน้มถ่วง การเจริญเติบโตในลักษณะเช่นนี้ทำให้ใบของพืชสามารถได้รับแสงอย่างเต็มที่และรากก็สามารถดูดซึมน้ำและแร่ธาตุต่างๆจากดินเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสงและหล่อเลี้ยงต้นพืช
2. พืชลำเลียงน้ำจากดินขึ้นไปเลี้ยงส่วนยอด คือ ในกระบวนการลำเลียงน้ำและสารอาหารจากดินขึ้นสู่ส่วนยอดนั้นพืชต้องอาศัยการคายน้ำออกจากใบซึ่งจะก่อให้เกิดแรงดึงน้ำจากด้านล่างเข้ามาแทนที่น้ำส่วนหายที่ไปในท่อลำเลียงน้ำ ที่เรียกว่า ไซเลม (Xylem) กระบวนการเช่นนี้ทำให้น้ำและธาตุอาหารซึ่งถูกดูดซึมโดยรากสามารถเคลื่อนที่จากดินผ่านทางไซเลมขึ้นไปเลี้ยงส่วนยอดได้ อย่างไรก็ตามหากเกิดความไม่สมดุลกันระหว่างการคายน้ำและปริมาณน้ำในดิน เช่น หากสภาพอากาศร้อนจัดทำให้มีการระเหยของน้ำมาก แต่ปริมาณน้ำในดินมีน้อย ก็อาจทำให้เกิดช่องว่างในไซเลม ส่งผลให้การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารหยุดชะงักได้
3. ข้อดีในการปลูกพืชกลับหัว การปลูกพืชกลับหัวช่วยทำให้น้ำและธาตุอาหารไหลไปเลี้ยงส่วนยอดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าปกติและสามารถบรรเทาปัญหาการหยุดชะงักของการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารอันมีสาเหตุมาจากการเกิดช่องว่างในไซเลมได้ เพราะในสภาพที่ต้นพืชกลับหัวแรงโน้มถ่วงจะสามารถช่วยผลักน้ำให้ไหลลงไปเลี้ยงส่วนยอด นอกจากนี้การปลูกพืชแบบกลับหัวยังช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชและการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ดีอีกด้วย
4. ปลูกผักกลับหัวดีกว่าปลูกแบบปกติ โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นการปลูกผักกลับหัวได้รับความนิยมอยู่พอสมควร บริษัทบางแห่งถึงกับมีการทำชุดการปลูกมะเขือเทศแบบกลับหัวออกวางจำหน่าย ชาวสวนหลายคนที่ทดลองปลูกผักกลับหัวระบุว่าการปลูกพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ กะเพรา ในสภาพกลับหัวให้ผลผลิตดีกว่าการปลูกในแนวปกติ อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลายคนยังตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการปลูกพืชในลักษณะกลับหัวเนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดๆยืนยันว่าการปลูกพืชในลักษณะนี้จะทำให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีกว่าปกติ

การตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของพืช

1. กลไกในการรับรู้แรงโน้มถ่วง ทิศทางของแรงโน้มถ่วงมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของพืชเซลล์บางชนิดในต้นพืชสามารถรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วงได้เนื่องจากมีอวัยวะที่เรียกว่า สตาโทลิท (statolith) ซึ่งเป็นพลาสติดชนิดหนึ่งที่มีการเก็บสะสมแป้งไว้ สตาโทลิทที่อยู่ภายในเซลล์จะมีการทิ้งตัวลงด้านล่างของเซลล์ตามแรงโน้มถ่วง และสามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพืชเพื่อตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงได้
2. ต้นพืชตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วง โดยธรรมชาติแล้วลำต้นของพืชจะมีการเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วง ในกรณีที่ต้นพืชมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการเจริญเติบโต เช่น ต้นมีการหักล้มลงไปราบกับพื้น สตาโทลิท ที่อยุ่ในเซลล์เอนโดเดอมิส(endodermis)ของลำต้นจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งการวางตัวในเซลล์ และจะชักนำให้เเกิดการเปลี่ยนแปลงการกระจายตัวของฮอร์โมนออกซิน(Auxin)ในลำต้น โดยทำให้ด้านล่างของลำต้นมีการสะสมของออกซินมากกว่าปกติ เซลล์ด้านล่างจึงมีการยืดตัวมากกว่าเซลล์ด้านบน ลำต้นจึงเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามแรงโน้มถ่วงได้อีกครั้ง
3. รากพืชตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วง รากพืชมีการเจริญเติบโตตามแรงโน้มถ่วงเนื่องจากกลุ่มเซลล์ที่บริเวณหมวกรากมีการสะสม สตาโทลิท ซึ่งทำหน้าที่ในการรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วง โดย สตาโทลิท ภายในเซลล์จะตกลงตามทิศทางของแรงโน้มถ่วงและส่งสัญญาณควบคุมการกระจายตัวของฮอร์โมนออกซินภายในรากเพื่อให้รากมีการเจริญเติบโตตามแรงโน้มถ่วง ด้วยเหตุนี้เองรากพืชที่งอกใหม่ออกจากเมล็ดจึงงอกลงดินเสมอ
4. พืชในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง นักวิทยาศาสตร์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการทดลองปลูกต้นมอสในอวกาศซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีแรงโน้มถ่วง โดยได้ตั้งสมมุติฐานว่าต้นมอสน่าจะมีการเจริญเติบโตแบบสุ่ม แต่ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าต้นมอสมีการเจริญเติบโตในลักษณะเกลียวก้นหอย นอกจากนี้ยังพบว่าอวัยวะต่างๆภายในเซลล์รวมถึงสตาโทลิท มีการจับกลุ่มกันในรูปแบบเฉพาะ ผลการทดลองนี้บ่งชี้ว่ากลไกการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงในพืชนั้นอาจมีความซับซ้อนมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ได้เคยคาดการณ์
เป็นไอเดียที่เก๋และเริ่ดมมั่กๆ เลยค่ะ  สำหรับการปลูกพืชแบบกลับหัว ซึ่งนอกจากจะให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ลดปัญหาเรื่องวัชพืช โรค แมลงรบกวน ประยัดน้ำ แล้วยังนำมาตกแต่งสวนในบ้าน หรือตามที่ต่างๆ ได้สวยงามอีกต่างหาก งั้นเรามาดูกันว่าจะมีวิธีปลูกกันดีกว่า อ่านแล้ว ใครจะเอาไปทำที่บ้านบ้าง เราก็ไม่ห้ามนะคะ :)

 วิธีการปลูกพืชกลับหัว

เริ่มจากการนำวัสดุปลูก เช่น ขุยมะพร้าวหรือดิน(หากต้องการปลูกพืชที่มีขนาดใหญ่เช่น มะเขือเทศควรเลือกใช้วัสดุปลูกที่มีน้ำหนักเบา เช่น ขุยมะพร้าว) ใส่ลงในกระถางให้เต็ม แล้วนำแผ่นกระเบื้องสี่เหลี่ยมมาปิดด้านบนของกระถาง ใช้นิ้วหนีบกระเบื้องไว้กับกระถางเพื่อป้องกันวัสดุปลูกร่วงหล่นแล้วคว่ำกระถางเพื่อให้ก้นกระถางหันขึ้นด้านบน นำต้นกล้าพืชลงปลูกในรูก้นกระถาง รดน้ำให้ปุ๋ยตามปกติ(ในกรณีที่ปลูกในขุยมะพร้าวควรรดด้วยสารละลายปุ๋ย) รอจนต้นโตสูงอย่างน้อย 1 ฟุตแล้วจึงพลิกกระถางเพื่อให้ต้นพืชกลับหัว เจารูที่ขอบกระถางสำหรับร้อยลวดแล้วจึงนำไปแขวน นอกจากนี้ด้านบนของกระถางยังสามารถปลูกผักขนาดเล็กชนิดอื่น เช่น สลัดได้อีกด้วย

การปลูกผักกลับหัว

1. การเจริญเติบโตของพืช ตามปกติแล้วส่วนยอดของต้นพืชทุกชนิดจะเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วง ในขณะที่ส่วนรากจะชอนไชลงดินตามแรงโน้มถ่วง การเจริญเติบโตในลักษณะเช่นนี้ทำให้ใบของพืชสามารถได้รับแสงอย่างเต็มที่และรากก็สามารถดูดซึมน้ำและแร่ธาตุต่างๆจากดินเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสงและหล่อเลี้ยงต้นพืช
2. พืชลำเลียงน้ำจากดินขึ้นไปเลี้ยงส่วนยอด คือ ในกระบวนการลำเลียงน้ำและสารอาหารจากดินขึ้นสู่ส่วนยอดนั้นพืชต้องอาศัยการคายน้ำออกจากใบซึ่งจะก่อให้เกิดแรงดึงน้ำจากด้านล่างเข้ามาแทนที่น้ำส่วนหายที่ไปในท่อลำเลียงน้ำ ที่เรียกว่า ไซเลม (Xylem) กระบวนการเช่นนี้ทำให้น้ำและธาตุอาหารซึ่งถูกดูดซึมโดยรากสามารถเคลื่อนที่จากดินผ่านทางไซเลมขึ้นไปเลี้ยงส่วนยอดได้ อย่างไรก็ตามหากเกิดความไม่สมดุลกันระหว่างการคายน้ำและปริมาณน้ำในดิน เช่น หากสภาพอากาศร้อนจัดทำให้มีการระเหยของน้ำมาก แต่ปริมาณน้ำในดินมีน้อย ก็อาจทำให้เกิดช่องว่างในไซเลม ส่งผลให้การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารหยุดชะงักได้
3. ข้อดีในการปลูกพืชกลับหัว การปลูกพืชกลับหัวช่วยทำให้น้ำและธาตุอาหารไหลไปเลี้ยงส่วนยอดได้มีประสิทธิภาพมากกว่าปกติและสามารถบรรเทาปัญหาการหยุดชะงักของการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารอันมีสาเหตุมาจากการเกิดช่องว่างในไซเลมได้ เพราะในสภาพที่ต้นพืชกลับหัวแรงโน้มถ่วงจะสามารถช่วยผลักน้ำให้ไหลลงไปเลี้ยงส่วนยอด นอกจากนี้การปลูกพืชแบบกลับหัวยังช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชและการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้ดีอีกด้วย
4. ปลูกผักกลับหัวดีกว่าปลูกแบบปกติ โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นการปลูกผักกลับหัวได้รับความนิยมอยู่พอสมควร บริษัทบางแห่งถึงกับมีการทำชุดการปลูกมะเขือเทศแบบกลับหัวออกวางจำหน่าย ชาวสวนหลายคนที่ทดลองปลูกผักกลับหัวระบุว่าการปลูกพืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ กะเพรา ในสภาพกลับหัวให้ผลผลิตดีกว่าการปลูกในแนวปกติ อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลายคนยังตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการปลูกพืชในลักษณะกลับหัวเนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดๆยืนยันว่าการปลูกพืชในลักษณะนี้จะทำให้พืชเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีกว่าปกติ

การตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของพืช

1. กลไกในการรับรู้แรงโน้มถ่วง ทิศทางของแรงโน้มถ่วงมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางการเจริญเติบโตของพืชเซลล์บางชนิดในต้นพืชสามารถรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วงได้เนื่องจากมีอวัยวะที่เรียกว่า สตาโทลิท (statolith) ซึ่งเป็นพลาสติดชนิดหนึ่งที่มีการเก็บสะสมแป้งไว้ สตาโทลิทที่อยู่ภายในเซลล์จะมีการทิ้งตัวลงด้านล่างของเซลล์ตามแรงโน้มถ่วง และสามารถชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพืชเพื่อตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงได้
2. ต้นพืชตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วง โดยธรรมชาติแล้วลำต้นของพืชจะมีการเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามกับแรงโน้มถ่วง ในกรณีที่ต้นพืชมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการเจริญเติบโต เช่น ต้นมีการหักล้มลงไปราบกับพื้น สตาโทลิท ที่อยุ่ในเซลล์เอนโดเดอมิส(endodermis)ของลำต้นจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งการวางตัวในเซลล์ และจะชักนำให้เเกิดการเปลี่ยนแปลงการกระจายตัวของฮอร์โมนออกซิน(Auxin)ในลำต้น โดยทำให้ด้านล่างของลำต้นมีการสะสมของออกซินมากกว่าปกติ เซลล์ด้านล่างจึงมีการยืดตัวมากกว่าเซลล์ด้านบน ลำต้นจึงเจริญเติบโตในทิศทางตรงกันข้ามแรงโน้มถ่วงได้อีกครั้ง
3. รากพืชตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วง รากพืชมีการเจริญเติบโตตามแรงโน้มถ่วงเนื่องจากกลุ่มเซลล์ที่บริเวณหมวกรากมีการสะสม สตาโทลิท ซึ่งทำหน้าที่ในการรับรู้ทิศทางของแรงโน้มถ่วง โดย สตาโทลิท ภายในเซลล์จะตกลงตามทิศทางของแรงโน้มถ่วงและส่งสัญญาณควบคุมการกระจายตัวของฮอร์โมนออกซินภายในรากเพื่อให้รากมีการเจริญเติบโตตามแรงโน้มถ่วง ด้วยเหตุนี้เองรากพืชที่งอกใหม่ออกจากเมล็ดจึงงอกลงดินเสมอ
4. พืชในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง นักวิทยาศาสตร์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการทดลองปลูกต้นมอสในอวกาศซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่มีแรงโน้มถ่วง โดยได้ตั้งสมมุติฐานว่าต้นมอสน่าจะมีการเจริญเติบโตแบบสุ่ม แต่ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าต้นมอสมีการเจริญเติบโตในลักษณะเกลียวก้นหอย นอกจากนี้ยังพบว่าอวัยวะต่างๆภายในเซลล์รวมถึงสตาโทลิท มีการจับกลุ่มกันในรูปแบบเฉพาะ ผลการทดลองนี้บ่งชี้ว่ากลไกการตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงในพืชนั้นอาจมีความซับซ้อนมากกว่าที่นักวิทยาศาสตร์ได้เคยคาดการณ์