เรียนรู้จากธรรมชาติ เพื่อการปลูกเลี้ยงต้นไม้แบบมืออาชีพ
1. รู้จักธรรมชาติของต้นไม้ที่ปลูกเลี้ยง ต้นไม้แต่ละชนิดชอบอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างๆกัน และไม้ดอกไม้ประดับทั้งหมดก็มีที่มาดั้งเดิมจากธรรมชาตินั่นเอง ถึงแม้จะมีการปรับปรุงสายพันธุ์ หรือเป็นลูกผสมแล้วก็ตามยังไงก็จะยังคงมีพื้นฐานพันธุกรรมจากบรรพบุรุษติดมาอยู่เสมอ ดังนั้นหากเราทราบว่าในธรรมชาติดั้งเดิมของต้นไม้เขามีความเป็นอยู่อย่างไร ชอบขึ้นอยู่บนวัสดุปลูกประเภทใดมีธาตุอาหารตัวไหนสูง ความชื้นของอากาศ ในพื้นที่ดั้งเดิมเป็นเท่าไหร่ความแตกต่างระหว่างกลางวันกลางคืนเป็นอย่างไร ชอบขึ้นอยู่ใต้เงาไม้คลึ้มหรือว่าอยู่กลางแจ้ง ข้อมูลเหล่านี้ยิ่งรู้มาก ก็จะเข้าใจต้นไม้ชนิดนั้นมากขึ้นเมื่อเข้าใจก็จะสามารถนำมาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับสถานที่ปลูกเลี้ยงได้ถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่าจะต้องใช้ความชำนาญ และความเก๋าเกมส์พอควรในการตีความหมายจากข้อมูลเพื่อนำมาปรับใช้ ซึ่งอาจต้องอาศัยการฝึกฝนในด้านการสังเกต และการประยุกต์ใช้สิ่งรอบตัวซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์อันถือได้ว่าเป็นที่สุดแห่งเคล็ดลับการปลูกเลี้ยงต้นไม้เลยทีเดียว
2. วัสดุปลูก โดยทั่วไปวัสดุปลูกจะประกอบจากวัสดุหลายๆชนิดผสมกันเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่าวัสดุปลูกเพียงแบบใดแบบหนึ่งเพียงชนิดเดียวมักจะมีคุณสมบัติข้อดีเพียงด้านเดียว กล่าวคือวัสดุที่มีคุณสมบัติดีมากมักมีราคาแพง วัสดุประเภทที่ดูดซับและรักษาความชื้นได้ดีมักจะระบายอากาศได้ไม่ดี ส่วนวัสดุที่ระบายอากาศได้ดีก็มักจะดูดซับและรักษาความชื้นได้ไม่ดีนัก บางชนิดมีธาตุอาหาร ในขณะที่บางวัสดุปลูกก็ไม่มีธาตุอาหารเลย วัสดุปลูกที่เหลือใช้และหาได้ง่ายในบ้านเรามีอยู่มากมายอาทิเช่น เปลือกมะพร้าว ทรายหยาบ แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ เปลือกไม้แห้งใบไม้ผุ ขี้วัวแห้ง ถ่านไม้ หินชนิดต่างๆ โฟมหักเป็นชิ้นขนาดต่างๆ ...ฯลฯเคล็ดลับของวัสดุปลูกคือหลีกเลี่ยงการใช้ดินเปล่าๆโดยไม่ผสมอะไรเลยเนื่องจากดินเปล่าๆเมื่อผ่านการรดน้ำระยะหนึ่งจะมีความแน่นตัวสูงแต่ถ้ามีการเพิ่มความโปร่งร่วนซุย จะช่วยให้มีการหมุนเวียนของอากาศและน้ำ ทำให้เกิดการถ่ายเทที่สมดุลและควบคุมเชื้อก่อโรคได้ดังนั้นการเตรียมผสมวัสดุปลูกจึงควรให้ความสำคัญกับความโปร่งและระบายอากาศดี แต่ก็ไม่สูญเสียความชื้นง่ายจนเกินไปส่วนเรื่องธาตุอาหารผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการผสมดินปลูก ขอแนะนำให้ไปปรับที่ปุ๋ย ถ้าธาตุอาหารในตัววัสดุปลูกเยอะก็ไม่ต้องให้ปุ๋ยมากถ้าธาตุอาหารในตัวน้อยก็ให้ปุ๋ยเสริมเข้าไป
ปัจจุบันปุ๋ยละลายช้าเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ประหยัดและลดความยุ่งยากได้ต้นไม้บางชนิดสามารถปลูกให้งอกงามได้ดีเมื่อใช้ปุ๋ยละลายช้านี้แม้จะใช้วัสดุปลูกที่ไม่มีธาตุอาหารใดๆเลย
3. วางไว้ให้ถูกที่ พิจารณาว่าพืชที่ปลูกชอบสภาพแวดล้อมแบบใดปัญหาส่วนมากจะพบในต้นไม้ที่ต้องการความชื้นสูง เช่นพวกพันธุ์ไม้จากป่าดิบชื้นและเฟริน หากชอบที่ชื้นก็ต้องทำพื้นที่ให้เอื้อต่อการ
เกิดความชื้น เช่น หาวัตถุบังลมเช่นต้นไม้ใหญ่หรือซาแลนมาขึงบังลมไว้ ปูด้วยทรายหยาบ หรืออิฐมอญ หาอ่างน้ำมาตั้งใกล้ๆตั้งชิดรวมกันเป็นกลุ่มๆ หรือใช้เครื่องควบคุมเช่นระบบน้ำหยด หรือพ่นหมอกวิธีการเหล่านี้ใช้ร่วมกันหรืออย่างใดอย่างหนึ่งตามความเหมาะสมจะช่วยเพิ่มความชื้นได้
อีกปัญหาหนึ่งคือปัญหาความสกปรกควรหลีกเลี่ยงการวางบนพื้นดินโดยตรงหรือวางตรงบริเวณที่เวลารดน้ำ แล้วดินไม่สามารถกระเด็นมาโดนใบ-ซอกใบ ควรวางต้นไม้บนวัสดุรองกระถางหรือวางบนพื้นที่ปูด้วยอิญหรือทรายหยาบ และหาหาเศษอิฐหรือหินกรวดแม่น้ำมาโรยปิดหน้าวัสดุปลูกไว้ เพื่อไม่ให้เกิดการกระเด็นเวลารดน้ำ (หรือจะใช้ประโยชน์จากวัชพืชเล็กๆซึ่งเหลือไว้บ้างก็ได้)ที่ระวังตรงจุดนี้เพราะว่าดินเป็นแหล่งของเชื้อก่อโรคพืชนั่นเองหากจัดการได้ปัญหาจุกจิกเรื่องใบเป็นโรคจากเชื้อราจะลดลง
ได้อย่างชัดเจน
4. รดน้ำต้นไม้ให้ถูกเวลาและถูกวิธี ควรรดน้ำแต่เช้าตรู่เพราะต้นไม้ส่วนใหญ่ จะใช้ประโยชน์จากน้ำในตอนกลางวันเท่านั้น (ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง,photosynthesis)เคล็ดลับก็คือทำยังไงก็ได้ให้เครื่องปลูกมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอในเวลากลางวัน แต่ต้องแห้งหมาดๆในเวลากลางคืน พืชบางชนิด
รดน้ำตอนเช้าครั้งเดียวก็พอแล้ว บางชนิดที่ชอบชื้นมากก็รดอีกทีตอนเที่ยงหรือบ่ายๆ (การรดน้ำตอนแดดจัดมากช่วงฤดูร้อน แนะนำภายใต้โรงเรือนเพาะชำเท่านั้น เพราะในสภาพกลางแจ้งบางครั้งหยดน้ำที่ค้างที่ใบ อาจทำให้ใบมีอุณหภูมิสูง จนเกิดความเสียหายและเชื้อก่อโรคแทรกได้) หลีกเลี่ยงการรดน้ำตอนหัวค่ำอย่างเด็ดขาดเพราะหยดน้ำที่ค้างตามซอกใบและวัสดุปลูกในเวลากลางคืนจะเอื้อต่อการเจริญของเชื้อก่อโรคได้เป็นอย่างดี
การรดน้ำไม่ควรฉีดแรง ควรรดให้เป็นฝอยละเอียดตกลงที่ใบแล้วใบจะทำหน้าที่ในการรวบรวมหยดน้ำไหลลงสู่โคนต้นคล้ายกับธรรมชาติของฝนตก ตรงนี้ไม่ควรมองข้ามเพราะได้แฝงไว้
ด้วยกลเม็ดอันแยบยลคือ การรดน้ำเป็นฝอยนอกจะไม่ทำให้ใบเกิดบาดแผลแล้ว ยังเป็นการชำระล้างใบให้สะอาดส่งผลดีทั้งในแง่การสังเคราะห์แสง (ไม่มีฝุ่นบังแสง) และในแง่การล้างเชื้อก่อโรคที่สะสมบนใบและต้นออกไป อีกทั้งการรดน้ำเป็นฝอยจะลดการกระเด็นของดิน-วัสดุปลูกขึ้นมาเกาะที่ใบ ป้องกัน
เชื้อโรคเข้าทำลายได้เป็นอย่างดี ในขณะที่การฉีดน้ำแรงเกินไปจะทำให้เกิดบาดแผลโดยไม่ตั้งใจและเชื้อก่อโรคได้ใช้เป็นช่องทางในการเข้าทำลาย เห็นได้ว่าผลที่สุดแล้วความสะอาดเป็นสิ่งสำคัญต่อการปลูกเลี้ยงต้นไม้ ต้นไม้ที่เน่าง่ายเช่นพวกใบนิ่มอวบน้ำหรือต้นที่มีที่มาจากแหล่งหนาวเย็น จำเป็นจะต้องใส่ใจกับความสะอาดเป็นพิเศษภาชนะและวัสดุปลูกที่ต้นไม้เป็นโรคตายไม่ควรนำใช้ใหม่
5. เคล็ดลับสุดท้าย ก็คือการหัดรู้จักสังเกตุ คลุกคลีเอาใจใส่และหาเคล็ดลับที่เหมาะสมกับตัวผู้ปลูกเอง เคยมีคนกล่าวเอาไว้ว่า“ปุ๋ยที่ดีที่สุดในโลกคือความเอาใจใส่ของผู้ปลูกเลี้ยง”ขอยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องลึกลับ หรือต้นไม้มีการรับรู้พิเศษอะไรหรอกครับเป็นเหตุเป็นผลตามพุทธศาสนาเรานี่เอง เพราะการดูแลเอาใจใส่ที่ดีย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี หรืออาจยกตัวอย่างเช่นหากลองได้คุยกับต้นไม้บ่อยๆ ต้นไม้ก็จะงอกงามมากขึ้นเนื่องจากคำพูดและลมหายใจของคนเราเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นประโยชน์แก่ต้นไม้นั่นเอง
ปุ๋ยและโรคแมลง
ปุ๋ย คือ วัตถุที่ให้ธาตุหารแก่ต้นไม้เพื่อการเจริญเติบโต ออกดอก และติดผลซึ่งมีด้วยกัน 16 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจนฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถันเหล็ก ทองแดง สังกะสี แมงกานีส โมลิบดีนัม โบรอน และคลอรีน
ส่วนการควบคุมศัตรูพืชนั้น แบ่งเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ ดังนี้
1. วิธีธรรมชาติ (natural control) เป็นวิธีการที่ปล่อยให้กิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมนุษย์ไม่มีบทบาทใดๆ ทั้งสิ้นแมลงหรือจุลินทรีย์มีการเติบโตขยายพันธุ์ตามสภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสมและมีโอกาสถูกศัตรูธรรมชาติทำลาย ซึ่งเรียกว่า"สมดุลทางธรรมชาติ" ( balance of nature)ปรากฏการณ์นี้ดำเนินติดต่อกันไปโดยธรรมชาติ
2. วิธีประยุกต์ (applied control) เป็นวิธีที่มนุษย์คิดค้นและหาทางปราบศัตรูพืชด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้กับดักวิธีการเพาะปลูก การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช ฯลฯ
วิธีการปราบศัตรูพืชที่นิยมใช้นแพร่หลายมาก คือ การใช้สารเคมีได้แก่ สารกำจัดแมลงชนิดต่างๆ สารกำจัดเชื้อรา แบคทีเรียซึ่งเมื่อใช้ไปนานๆ เข้า โรคและแมลงจะดื้อยา จึงจำเป็นต้องใช้สารที่มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นและพ่นถี่มากขึ้น ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้พ่นสาร และมีสารปนเปื้อนสะสมในสภาพแวดล้อม เช่นในดิน ลำคลอง และในบรรยากาศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆยิ่งนานวันสภาพการสูญเสียของทรัพยากรธรรมชาติก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจนกระทบต่อชีวิตประจำวันของมวลมนุษย์ในโลก
ทำให้นักวิทยาศาสตร์หันมาค้นคว้าวิจัย เพื่อหาวิธีปราบศัตรูพืชที่ก่อให้เกิดผลเสียน้อย โดยใช้วิธีธรรมชาติเข้ามาร่วมด้วย
เรียบเรียงบางส่วนจากหนังสือหลักการพืชสวน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เขียนโดย ผศ.สมพร ทรัพยสาร
ที่มาhttp://www.tonmai2u.com/tropic%20planting%20takecare2.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น