บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ไม้ยืนต้นทิ้งใบให้ดอกสวย
เรามาทำความรู้จังกันเลย
1. ชมพูพันทิพ (ดอกสีชมพู)
2. เหลืองอินเดีย (ดอกสีเหลือง)
3. เหลืองปรีดิยาธร (ดอกสีเหลือง)
4. ศรีตรัง (ดอกสีม่วง)
5. หางนกยูง (ดอกสีแดง)
6. กัลปพฤกษ์ (ดอกโทนสีครีม - ชมพู)
7. ราชพฤกษ์ (ดอกสีเหลือง ทรงห้อย)
8. ชัยพฤกษ์ (ดอกสีชมพู)
9. พญาเสือโคร่ง (ดอกสีขาว - ชมพู)

เริ่มกันที่ ชมพูพันทิพย์ก่อนดีกว่า


     ต้นไม้ยืนต้นทิ้งใบให้ดอกสวยชนิดแรกนี้ เรียกว่า ชมพูพันธุ์ทิพย์ ครับ ชื่อของ ชมพูพันธุ์ทิพย์ ได้มาจากการตั้งชื่อตามสีดอกและเป็นเกียรติแก่ผู้นำเข้า คือ ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร และยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อว่า แตรชมพู ธรรมบูชา หรือ Pink Trumpet tree เป็นต้น
    ชมพูพันธุ์ทิพย์  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  Tabebuia  heterophylla  (DC)  Briton.  อยู่ในวงศ์  Bignoniaceae  เช่นเดียวกับทองอุไรและศรีตรัง  เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง  สูงราว ๘-๑๒ เมตร  ซึ่งก็ไม่ได้เล็กเลยนะครับ ใครจะปลูกคงต้องพิจารณาพื้นที่บ้านกันสักหน่อย...
    ใบเป็นแบบผสม  มีใบย่อย ๕ ใบบนต้นเดียวกัน  แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม  ผิวไม่เรียบ  ปลายใบแหลม  ยาวประมาณ ๑๒ เซนติเมตร  กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น เมื่อ
ชมพูพันธุ์ทิพย์  ใบแก่และทิ้งใบในฤดูหนาว  ช่วงเดือน พฤศจิกายน-มกราคม  หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน  ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน  ช่อละ ๕-๘ ดอก  
ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร  คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น ๕ กลีบ  กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบๆ และร่วงหล่นง่าย  จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบๆ ต้น  งดงามพอ ๆ กับที่บานอยู่บนต้น  ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว ๘ เซนติเมตร  ยาวราว ๑๕ เซนติเมตร   
สีของกลีบดอกปกติเป็นสีชมพูสดใส  แต่มีความเข้มและจางแตกต่างกันไป  โดยเฉพาะต้นที่เกิดจากเมล็ดจะมีความผันแปรมากมาย  ตั้งแต่สีชมพูจางเกือบขาวไปจนถึงสีเข้มเกือบเป็นสีม่วงแดง
เมื่อดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นแล้ว  จะติดฝักรูปร่างคล้ายมวนบุหรี่  ยาวราว  ๑๕ เซนติเมตร  เมื่อฝักแก่ราวเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม  จะแตกออกด้านเดียวตามยาว        แล้วเมล็ดที่มีปีกก็ปลิวไปตามลมได้ไกลๆ
    ต้นกำเนิดของชมพูพันธุ์ทิพย์  อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้  ต่อมาได้ถูกนำไปปลูกในเขตร้อนทวีปต่างๆ อย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทย
ชมพูพันธุ์ทิพย์
  ความประทับใจกับ ชมพูพันธุ์ทิพย์ ครั้งแรก ผมเจอตอนขับรถผ่านหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตรย์ที่เชียงใหม่ครับ ตอนนั้น ชมพูพันทิพย์ บานสะพรั่งชมพูทั้งต้น
มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติรุมถ่ายรูปกันอยู่ยกใหญ่ 
   แต่บริเวณริมคูเมืองส่วนใหญ่ จะมีใบแซมปนอยู่บ้างเป็นบางต้น 
   จึงสรุปได้ว่า ชมพูพันธุ์ทิพย์ จะให้ดอกแบบเต็มต้นได้ ต้องแล้งชนิดที่ไม่ได้กินน้ำเลยถึงจะดีครับ หากได้รับน้ำบ้าง ชมพูพันธุ์ทิพย์ จะไม่ค่อยทิ้งใบ ดอกจะออกแซมกับ
กลายเป็นเขียว ๆ ปน ชมพูไปเสีย
   สำหรับการปลูกต้นไม้ชนิดโดยหวังผลให้ดอกสวยงาม ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่แห้ง ดินขาดสารอาหารเยอะ ๆ จะดีครับ ถ้าดินมีความชื้นสูงสมบูรณ์เพียบพร้อมคงยากจะได้
เห็นดอกทั้งต้นอย่างแน่นอน
  สรุปคือ ชอบแล้ง ร้อน แห้งผาก 



     การเพาะ ชมพูพันธุ์ทิพย์ สามารถเพาะได้ด้วยเมล็ด เมล็ดจะบางและแบน มากครับ ผมเคยลองไปเก็บมาเพาะ 
ปรากฏว่าขึ้นง่ายมาก เพียงแค่ 2 - 4 สัปดาห์ ก็งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนเต็มไปหมดแล้วครับ ในช่วงต้นที่ยัง
ไม่โตสมบูรณ์ หากให้น้ำมาก ปลูกบำรุงดี จะโตไวมาก แต่พอเริ่มโตได้ที ก็นำไปลงดิน แล้วงดน้ำ ปล่อยอด ๆ อยาก ๆ
รับรองได้เห็นดอกตามที่คาดหวังอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น